กระจกนิรภัยลามิเนต

กระจกนิรภัยลามิเนต

กระจกนิรภัยลามิเนต ลามีแทค

ผลิตโดยการนำกระจก ตั้งแต่สองแผ่นขึ้นไปมาลีคติดกันด้วยแผ่นฟิล์ม (PVB:Poly Vinyl Butyral)
ที่มีความเหนียวทนทานคั่นอยู่ระหว่าฉกลาง ทำหน้าที่ยึดเกาะให้กระจกติดกัน ในขณะเดียวกันแผ่นฟิล์มตัวกล่าวสามารถป้องกันรังสีอัลตราไวโอเลตได้กว่า 99%

กระจกนิรภัยลามีเนต ลามีแทค เป็นกระจกที่ให้ความปลอดภัยสูงเมื่อกระจกถูกกระแทกจนแตกแผ่นฟิล์มจะยึดเกาะไม่ให้เศษกระจกหลุดร่วง จะมีเพียงรอยแตก หรือรอยร้าวคล้ายใยแมงมุมเท่านั้น และที่สำคัญคือวัตถุที่วิ่งมาชนกระจกจนแตกจะไม่สามารถทะลุผ่านกระจกไปได้ (ขึ้นอยู่กับจำนวนชั้นของฟิล์มและวัตถุที่มาชน)

คุณสมบัติ
–  มีความปลอดภัยสูง เมื่อกระจกเกิดการมตกแผ่นพี่ฉัมจะเป็นตัวยึดมกาะกระจกไม่หลุดร่วงลงมาทำให้เกิดอันตราย
–  สกัดกั้นรังสีอัลตราไวโอเลต (UV) ได้มากกว่า 99% ลดปริมาณรังสียูวีที่ส่องผ่านกระจกไปยังวัสดที่อยู่ภายใน เช่นเฟอร์นิเจอร์ ม่าน พรมทำให้สีไม่ซีดจาง
–  ป้องกันเสียงรบกวนจากภายนอก ก่อให้เกิดบรรยากาศที่เป็นส่วนตัวของผู้อยู่อาศัย

ข้อควรระวัง และคำเตือน
–  ควรติดตั้งตามกระบวนการติดตั้งกระจกลามิเนต
– ไม่ควรทำให้ขอบกรจกลามิเมตเกิดรขยบิ่น โดยเฉพาะเมื่อตั้งกระจกไว้ภายนอกเพราะขอบอาจได้รับความชื้นซึ่งเป็นตัวทำลายชั้นฟิล์มเป็นสาเหตุให้ฟิล์มแยกตัวออกจากกระจก
– กระจกลามิเนตจะเกิดฟองอากาศ เมื่อกระจกความชื้นสัมผัสฟิล์มโดยตรง อยู่ตลอดเวลา หรืออุณหภูมิกระจกได้รับความร้อนสูงกว่าว่าปกติทั่วไปไพราะฟิล์มจะมีการเปลี่ยนคุณสมบัติทางโครงสร้างการยึดเกาะ
– ระวังอย่าให้ขอบกระจกถูกสารละลายเพราะจะทำให้ชั้นฟิล์มเสียหาย
– ควรทำการวัดขนาดกระจกลานีเมดให้พอดีก่อนการติดตั้ง เพราะกระจกลามิเนตไม่แนะนำให้นำมาตัดในภายหลัง

ผลิตภัณฑ์
– กระจกนิรภัยลามิเนต ลามิแทค กระจกโฟลตใส+ฟิล์ม+กระจกโฟลตใส
– กระจกนิรภัยลามิเนต ลามิแทค กระจกนิรภัยเทมเปอร์+ฟิล์ม+กระจกนิรภัยเทมเปอร์
– กระจกนิรภัยลามิเนต ลามิแทค กระจกสะท้อนแสง+ฟิล์ม+กระจกโฟลตใส เป็นต้นต้น

การใช้งาน
– ใช้เป็นหลังคากระจกที่ต้องการให้แสงสว่างเข้าสู่อาคาร
– ผนังของอาคารสูง หรือช่องหน้าต่างอาคารสูง ที่ต้องการความปลอดภัยจากเศษกระจกหลุดร่วงลงมาเมื่อกระจกแตก
– บริเวณทางเข้า-ออกอาคาร หน้าร้านค้า ตู้ปลาขนาดใหญ่กระจกสำหรับราวกันตก

วิธีการติดตั้ง
– เพื่อป้องกันน้ำเข้าที่ขอบกระจก ควรใช้วัสดุยาแนวที่มีคุณภาพสูง เช่น Silicone sealant หรือ Polysulfide
– ไม่ควรใช้วัสดุยาแนวที่มีส่วนประกอบของสารละลาย หรือ Oil-based putty
– แนวของกรอบกระจก ควรมีร่องระบายน้ำอย่างต่ำที่เส้นผ่าศูนย์กลาง 5 มิลลิเมตร ควรมีอย่างต่ำ 3 จุดเพื่อการระบายน้ำที่ดี
– วัสดุที่ใช้รองรับวัสดุยาแนว ควรใช้ Polyethylene foam หรือ Chloroprene rubbers
– การใช้วัสดุรองกระจก ควรใช้ PVC rasin ที่มีคุณภาพสูง (สำหรับกระจกหนา 6 มม. หรือบางกว่า)ใช้ยางแข็ง (Chloroprene rubbers หรือ EPDM) ที่ความแข็งอย่างน้อย 90 ดีกรี และควรแยกเป็น 2 จุด เพื่อให้สามารถรองรับน้ำหนักได้เท่ากัน
– ไม่แนะนำให้ใช้ยางรองที่เป็นรูปตัวยู (U-shape gasket) ในการติดตั้งกระจก เพราะหากมีน้ำซึมเข้าสู่ด้านในกระจก แล้วยากต่อการระบายออก เนื่องจากยางรองซึ่งปิดกั้นขอบกระจก จะทำให้กระจกเกิดความชื้น และทำให้เกิดความเสียหายต่อชั้นฟิล์มได้

หมวดหมู่: